5 ส. เภสัชกรรมและแบบฟอร์ม
แบบฟอร์มสำหรับการตรวจ 5 ส. click ที่นี่ FORM
ตัวอย่าง 5 ส. แผนกเภสัชกรรม
หมวดที่ 1 สะสาง
1.1 การปะปนของสิ่งของ
เอกสาร
- ไม่มีตะกร้าใส่เอกสารที่วางสุมๆ กัน
- ไม่มีเอกสาร/ของใช้ปะปนอยู่ในลิ้นชักเดียวกัน(ยกเว้นมีป้ายบ่งชี้และแยกจากกันชัดเจน)
- มีกล่องคัดแยกสติ๊กเกอร์ที่เสียหรือแก้ไขใหม่
- มีกล่องคัดแยกใบ print order (ถ้ามี) ที่พิมพ์ผิดหรือแก้ไขใหม่
- กล่องเก็บป้ายบัตรแข็งเชิญรับยากับป้ายด่วนแยกกัน
- สติกเกอร์ฉลากช่วยของเภสัชกรที่เป็นสีๆ ไม่ปะปนกัน
1.2 ยา/เวชภัณฑ์
- ไม่มียาที่ตัดออกจากแผงอยู่นอกซองยาหรือกล่องที่ทำแยกไว้
- มีการแยกเก็บยาแบ่งบรรจุ(ยาน้ำแบ่งริน/ยาครีมแบ่งตัก)(มียาภายใน/ยาภายนอก)
- ยาที่มี 2 lot มีการแยกเก็บชัดเจน
- การบรรจุขวดแบ่งยาใช้ภายนอกที่ระบุสี -แบ่งบรรจุได้ถูกสี/ถูกชนิด
- ไม่มียาที่มีสัญลักษณ์เหมือนกันอยู่ติดกัน(LASA)
- ไม่มียาที่ไม่พร้อมจ่ายอยู่ในพื้นที่
- ยาคืนมีกล่องใส่ยาคืน เพื่อทำการคัดแยกและเก็บคืน
- มีการตรวจสอบยาที่เสี่ยงการเติมผิดประจำวัน/การลงชื่อผู้ที่ทำการคืนยา
2. มีสิ่งของเกินจำเป็นหรือไม่จำเป็นอยู่ในพื้นที่
2.1 ยา/เวชภัณฑ์
- ไม่มียามากเกินจำเป็น (ดูจาก rate ใช้)
- ไม่มียาเติมจนล้น
2.2 อื่นๆ
- ไม่มีกล่องเปล่าที่เลิกใส่สินค้าแล้วอยู่ในพื้นที่
- ไม่มีของใช้ส่วนตัวที่ไม่จำเป็นเก็บไว้
- ไม่มีของที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานปะปนในบริเวณนั้น
- ไม่มีสินค้าเบ็ดเตล็ดมากเกินจำเป็น(ดูจาก rateใช้)
3. ชำรุด/หมดอายุ/ใกล้หมดอายุ
3.1 ยา/เวชภัณฑ์
- ไม่มียาหมดอายุอยู่บนชั้นวางยา
- ไม่มียาชำรุดอยู่ในกล่องยา
- ไม่มียาแบ่งบรรจุที่ไม่ได้ระบุวันหมดอายุ
- ยาติดป้าย Sticker สีส้ม(บ่งชี้ว่าหมดอายุใน 6 เดือน) ที่อยู่ในพื้นที่ ต้องเป็นยาที่ใช้มากในคลินิกห้องตนเองหรือ lot เหมือนกันกับห้องอื่น
3.2 เอกสาร/อื่นๆ
- ไม่มีของที่ชำรุดอยู่ในพื้นที่ใช้งาน
- มีแฟ้มเอกสารที่เลิกใช้งานอยู่ในพื้นที่
- ไม่มี form หรือ record ที่ไม่มีเลข form อยู่ในพื้นที่
4. อื่นๆ
- จดหมายเวียนปิดประกาศเกิน 1 เดือนจัดเก็บเข้าแฟ้ม
- ยาค้างจ่ายผู้ป่วยที่ลืมรับยา/ตั้งหนี้ไม่เกิน 1 เดือน(เกิน1เดือนเก็บยาและขอปรับยอด)
หมวดที่ 2 สะดวก
2.1 การจัดทำป้าย
- มีป้ายชี้บ่งชื่อยาถูกต้อง
- ป้ายบ่งชี้มีขนาดเหมาะสม
- มีป้ายบ่งชี้ชื่อยาสามัญ (Generic)ที่ใช้บ่อยครบ
- มีป้ายชี้บ่งยานัดฉีด
- มีป้ายชี้บ่งยาฉีดแบ่งใช้แล้ว (ถ้ามียาฉีดแบ่งใช้)
- มีป้ายชี้บ่งสินค้าครบทุกรายการ(ทั้งในกล่องและลิ้นชักหรือตู้)
- มีป้ายบ่งชี้ยาคู่เหมือน(เสี่ยงต่อการหยิบผิด)
- มีป้ายชี้บ่งยา 2 lot ชัดเจน
- ไม่มีป้ายเก่าสีซีดจาง
- กล่องใส่ยาที่ส่ง expired ไม่มีของใหม่ต้องมีป้ายชี้บ่งว่า ยาส่ง expired
2.2 การจัดเรียงยา
- การจัดเรียงเรียงตามอักษร
- การจัดเรียงสินค้ากับป้ายตรงกัน
- การจัดเรียงตามหลัก first in/ first out
2.3 ลักษณะการจัดเก็บ
- ยาฉีด pack ในซองซิบพร้อมจ่าย
- สินค้าจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ไม่มียาอื่นปะปนอยู่ในโซนที่ไม่ใช่ประเภทเดียวกัน
- มีกล่องใส่ยาครบ
- ไม่มีการเก็บยาจนล้นไปอีกกล่อง
- มีการเติมยาในปริมาณเหมาะสม
- ขนาดกล่องที่ใส่ยาเหมาะสม
- ไม่มียาอื่นปะปนในกล่องเดียวกัน/ไม่มีซองอลูมิเนียมฟอยด์ที่ตัดแบ่งแล้ว
- การเก็บกุญแจยาเสพติดที่เภสัชกร
- ยาที่ควรเก็บในตู้เย็น ต้องอยู่ในตู้เย็น
- ยาเม็ดที่ต้องเก็บในขวดปิดสนิทอยู่ในภาชนะที่เหมาะสม
- ยาที่ต้องเก็บในขวดกันแสงถูกบรรจุในขวดหรือซองสีชา
- ยากลุ่ม HAD มีแยกพื้นที่จัดเก็บชัดเจน
- ยากลุ่ม major HAD บรรจุในกล่องที่มีฝาปิด มีเทปสีแดงพันคอ amp และ มีdose recommend พันรอบ amp ยา
- ไม่มีของที่เก็บไว้บนหลังตู้
- การจัดเก็บเอกสารต่างๆ เป็นระเบียบ สันแฟ้มมีป้ายชี้บ่งชัดเจน
2.4 อื่นๆ
- มีภาชนะใส่น้ำเพื่อทำน้ำแข็งเพียงพอ
หมวดที่ 3. สะอาด
3.1 บริเวณที่จัดยา
- ถาดนับยาและไม้นับยาสะอาด
- ถาดนับยาแยกยากลุ่มเพนนิซิลิน
- ไม่มีกล่องใส่ยาเก่าขาด
- บริเวณที่เตรียมยาสะอาด
- ตะกร้าจัดยาสะอาด
- กระติกผสมยาสะอาด/มีการทำความสะอาดเป็นประจำ
- ไม่มีสติ๊กเกอร์ติดเลอะเทอะ
- 8.ไม่มีอาหารบริเวณที่จัดยา
- ไม่มีฝุ่นตามชั้น/บนหลังตู้เย็น/ในกล่องเก็บยา/ชั้นวางหนังสือ/เคาน์เตอร์
- ไม่มีขยะตกอยู่นอกตะกร้า
- พื้นสะอาด
- โทรศัพท์สะอาด
- ไม่มีอาหารอยู่ในตู้เย็นที่เก็บยา
- บริเวณที่คว่ำถ้วยชามสะอาด ไม่มีน้ำค้างอยู่จนมีกลิ่นเหม็น
- ถาดรองรับน้ำใต้ตู้เย็น มีการเทเปลี่ยนและทำความสะอาด
- บอร์ด/ป้ายประกาศต่างๆ สะอาด ไม่มีฝุ่นจับ
- Printer/Computer สะอาด
- ตะแกรงอ่างล้างมือมีการทำคามสะอาด
- บริเวณอ่างล้างมือสะอาดไม่มีน้ำกระเด็นเลอะเทอะ
- ภายในและภายนอกตู้เย็นสะอาด/มีการทำความสะอาดสม่ำเสมอ
- มีการละลายน้ำแข็งในตู้เย็น(เฉพาะตู้เย็นที่ไม่มีระบบ no frost)
- ตู้ใส่รองเท้า/บริเวณที่วางรองเท้าสะอาดเป็นระเบียบ
หมวดที่ 4 สุขลักษณะ
- มีการทำ 5 ส. อย่างต่อเนื่อง
- มีการตรวจสอบ 5 ส. เป็นประจำ
- มีแผนผัง 5 ส. และผู้รับผิดชอบ
หมวดที่ 5 สร้างนิสัย
- เมื่อหยิบของใช้ นำมาเก็บที่เดิม
- การปฏิบัติงาน 5 ส. ได้ถูกต้อง
- มีผู้รับผิดชอบชัดเจนและปฏิบัติงานได้ดี
- การแยกกระดาษ carbon ใส่ภาชนะได้ถูกต้อง
- การแยกภาชนะ recycle ได้ถูกที่(ถ้ามี)
- การแยกขยะได้ถูกต้อง
ตัวอย่างปัญหาที่พบ
- การจัดทำป้าย ยังไม่สมบูรณ์ เช่น ป้ายยาโซนเดียวกัน ใช้สีต่างกัน/ ไม่ควรใช้กระดาษสีแดงในการทำป้าย/ ป้ายเก่าสีซีดจาง /ป้ายไม่สมบูรณ์ ไม่มีชื่อยา generic ประกอบชื่อการค้า สินค้าบางชนิดยังไม่มีป้ายชี้บ่ง ป้ายไม่ตรงกับของที่อยู่ข้างในลิ้นชัก ป้ายหน้าตู้เย็นว่ามียาอะไรบ้างไม่มีการจัดทำ ป้ายไม่ตรงกับสินค้า stock ยาไม่ได้เขียนคำว่า stock
- การจัดเรียงยา ยังไม่ดี เช่น ยาชื่อเดียวกันแต่ต่างความแรงอยู่ติดกัน ยาที่ไม่ได้ stock แล้วควรนำออกจากพื้นที่มีการเรียงยาไม่ first in/ out (ไม่ได้ดูละเอียด/จำเดือนผิด) ยามี 2 lot ไม่ได้แยกกันชัดเจน
- การจัดเก็บยา ป้ายส่ง expired มองไม่เห็น กล่องไม่เหมาะสมกับสินค้า เบิกยาเกิน rate ใช้ เศษยากระเด็นมาปนกับยาในกล่องอื่น ยาตัดจากแผงแล้วไม่ได้แยกใส่ถุงไว้ ขวดใส่แบ่งบรรจุยาเม็ดไม่เหมาะสม
- ยาหมดอายุ/ใกล้หมดอายุ ยาติดป้ายส้มยังอยู่ในพื้นที่
- ความสะอาด มีฝุ่นไม่มาก พื้นที่อับ/ไกลเอื้อมมักถูกละเลย / กระติกน้ำผสมยาไม่มีการบันทึกความสะอาด
- อื่นๆ กล่องใส่แฟ้มน่าจะระบุชนิดของแฟ้มที่จัดเก็บ